แป คืออะไร

แป คือ ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา ทำหน้าที่สำคัญเป็นคานรับน้ำหนักหรือรองรับแผ่นหลังคา โดยแปจะเป็นส่วนที่ถูกกระเบื้องหรือวัสดุมุงหลังคายึดติดเอาไว้ แปยังมีหน้าที่รับน้ำหนักคนที่มาติดตั้งหรือซ่อมแซมหลังคาอีกด้วย

แป คือ อะไร

วัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการทำแปก็จะมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. ไม้ ไม้เป็นวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านยุคแรกๆ การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้ในการทำแป ควรจะเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีทนต่อการกัดกินของปลวก ไม้ที่นิยมใช้ในการทำแป เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า เป็นต้น
2. เหล็กรูปพรรณ เป็นเหล็กที่ผลิตออกมา มีหน้าตัดเป็นรูปลักษณะต่างๆ สำหรับใช้ในงานโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณที่นิยมใช้ในการนำมาทำแป มี 3 ประเภท คือ

เหล็กกล่อง

เหล็กกล่องไม้ขีด

เหล็กตัวซี

เหล็กทั้ง 3 ชนิด จะมีการเลือกใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของแผ่นหลังคา เพราะหลังคาแต่ละชนิดจะมีน้ำหนักแตกต่างกันไป โดยเหล็กรูปพรรณนี้จะไม่มีการเคลือบสารป้องกันสนิม ก่อนใช้งานต้องมีการทาสีเพื่อป้องกันสนิมก่อนจึงจะใช้งานได้

3. แปสำเร็จรูป เป็นวัสดุที่เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปทรงของแปสำเร็จนั้นผ่านการคำนวณทางวิศวกรรม เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี การติดตั้งง่ายไม่ต้องทำการเชื่อม เพียงใช้การยึดด้วยสกรูปลายสว่านเท่านั้น ในผู้ผลิตบางรายเลือกใช้เหล็กคุณภาพสูง มีการเคลือบสารป้องกันสนิมอย่าง อลูมิเนียมซิงค์ และกัลวาไนซ์ ทำให้แปสำเร็จนั้นทนทานใช้งานได้ยาวนาน และด้วยการเคลือบสารป้องกันสนิมแล้วจึงไม่จำเป็นต้องทำสีซ้ำทำให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แปสำเร็จรูป โปรฟาส์ท

แปสำเร็จ

ตัวอย่างโครงหลังคาที่ติดตั้งด้วยแปสำเร็จ

ระยะในการวางแปนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นหลังคาที่ใช้ โดยแปจะเป็นตัวรับน้ำหนักและกระจายน้ำหนักไปยังจันทัน หากเลือกใช้แปสำเร็จรูปที่แข็งแรงก็จะสามารถลดปริมาณในการใช้แปได้อีกด้วย

แป นั้นมีความสำคัญมากในการสร้างบ้าน เราควรให้ความสำคัญมาก ๆ ในการเลือกวัสดุนำมาทำแปหลังคา เพราะแปเป็นหนึ่งโครงสร้างหลักของหลังคาหากเลือกใช้วัสดุที่ไม่ได้คุณภาพก็อาจจะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของหลังคาทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการยุบตัวของแผ่นหลังคา จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแผ่นหลังคา สั่งผลให้หลังคารั่ว การเลือกใช้

แปที่มีความแข็งแรง ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อการพักอาศัยของเราเองการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่ขึ้นไปติดตั้งหรือซ่อมแซมหลังคาด้วยเช่นกัน แถมยังช่วยให้งานติดตั้งเสร็จไวและมีความปลอดภัยกับช่างติดตั้ง หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผ่นหลังคาในอนาคตด้วย